โหมโรง “วัน แบงค็อก” สู่โครงการระดับโลก

วัน แบงค็อก (One Bangkok) อภิมหาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบผสม (มิกซ์ยูส) หนึ่งในทำเลดีที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุด

ใจกลางกรุงเทพฯ มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท ที่มีกำหนดการเปิดตัวเฟสแรกในปีหน้าจะกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กระดับโลกช่วยขับเคลื่อนให้กรุงเทพฯเป็นมหานครระดับโลก

บนทำเลที่ตั้งระหว่างถนนพระราม 4 และแยกหัวมุมถนนวิทยุ บนขนาดเนื้อที่ 104 ไร่ ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สถานที่เคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” เป็นผู้ชนะประมูล

ภายใต้การพัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “Evolving Bangkok” พร้อมนำเสนอจักรวาลของชีวิตเมือง (Urbanverse) ที่มีมิติหลากหลาย ช่วยสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่ผสานเสน่ห์ของกรุงเทพฯกับความเป็นสากลระดับโลก

ประกอบด้วย 4 โซน มีลานสันทนาการกลางแจ้งตั้งอยู่ใจกลาง พร้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีกบริเวณส่วนล่างของอาคาร สำหรับอาคารสำนักงาน 5 อาคาร พื้นที่รวมกัน 5 แสนตารางเมตร ส่วนพื้นที่โรงแรมมีทั้งหมด 5 แห่ง อาทิ โรงแรมเดอะริทช์ คาร์ลตัน จำนวน 259 ห้อง และโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือโรงแรมไฮแอท เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวภายในโครง การอีกจำนวน 50 ไร่

นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นบนถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน เปี่ยมไปด้วยศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทจึงเข้ามาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งบนถนนพระราม 4 เริ่มตั้งแต่สามย่าน มิตรทาวน์ สีลม เอจ เดอะ ปาร์ค เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ รวมถึงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โดยโครงการ วัน แบงค็อก จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มาเติมเต็มย่านพระราม 4 ให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ และมีส่วนช่วยผลักดันให้กรุงเทพฯกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระดับนานาชาติ ดึงดูดนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก

การพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ “Evolving Bangkok” เป็นย่านการค้าระดับโลกแห่งใหม่ ภายใต้แนวคิด 4 แกนหลักประกอบด้วย 1. Being the Movement : ขับเคลื่อนเมืองและนำความก้าวหน้ามาพัฒนาไปพร้อมกับกรุงเทพฯ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง 2.Amplify Bangkok’s Values : ความเป็นที่สุดแห่งคุณค่าและเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ที่สั่งสมมานับศตวรรษมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพื้นที่ต่างๆ 3.Redefine the Cityscape : เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะพลิกโฉมเมือง ด้วยการพัฒนาย่านพระราม 4 ให้เป็นแกนกลางใหม่ของเมืองที่มีชีวิตชีวาอยู่เสมอและ 4. Empower Life in Smart and Sustaina ble Ecosys tem : ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานการจัดการระบบข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิต พร้อมดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อเติบโตไปพร้อมกับกรุงเทพฯอย่างยั่งยืน

พร้อมกับมอบประสบการณ์ใหม่จักรวาลชีวิตเมือง 8 ส่วน ประกอบด้วย

1.ประสบการณ์แห่งโลกธุรกิจ (Workplace) 2.ประสบการณ์แห่งโลกไลฟ์สไตล์ (Retail) 3.ประสบการณ์แห่งนิทรรศการและการแสดงระดับโลก (Live Entertainment Arena) 4.ประสบการณ์แห่งการบริการที่ดีที่สุดสำหรับการพักผ่อนและธุรกิจ (Hotels) 5.ประสบการณ์เหนือระดับของการอยู่อาศัย (Residences) 6.ประสบการณ์แห่งศิลปะและวัฒนธรรม (Art & Culture) 7.ประสบการณ์บนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่ง (Public Realm) พื้นที่กิจกรรมและสันทนาการของเมืองเชื่อมระหว่างสวนลุมพินี และสวนเบญจกิติ 8.ประสบ การณ์เมืองอัจฉริยะแบบยั่งยืน (Smart City with Sustainable Infrastructure)

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่การเปิดโครงการวัน แบงค็อก ได้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี โดยจะมีแบรนด์เเคมเปญชูภาพลักษณ์ที่มีสีสัน ตอบรับทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงง่าย เพื่อตอกย้ำแนวคิดของโครงการ

ตลอดจนการผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำกรุงเทพฯไปสู่ความก้าวหน้าร่วมกันอย่างยั่งยืน สู่มหานครระดับโลกที่ผู้คนทั่วโลกจะต้องมาเยือน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : จุน วนวิทย์ เจ้าของฮาตาริ ติดอันดับเศรษฐีใจบุญแห่งเอเชียของฟอร์บส์

จุน วนวิทย์ เจ้าของฮาตาริ ติดอันดับเศรษฐีใจบุญแห่งเอเชียของฟอร์บส์

“จุน วนวิทย์” เจ้าของและผู้ก่อตั้งฮาตาริ ติดอันดับมหาเศรษฐีผู้ใจบุญแห่งเอเชีย ประจำปี 2565

จุน-วนวิทย์

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชื่อของ “จุน วนวิทย์” เจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัทฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด กลายเป็นข่าวโด่งดังเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากเจ้าตัวบริจาคเงินสูงถึง 900 ล้านบาทให้กับมูลนิธิรามาธิบดี

แบ่งเป็นโครงการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 160 ล้านบาท โครงการรามาธิบดีศรีอยุธยา 300 ล้านบาท โครงการนวัตกรรมโยธี 440 ล้านบาท

ทำให้ในช่วงนั้นชาวโซเชียลพากันโพสต์รูปพัดลม “ฮาตาริ” ที่มีติดบ้าน เพื่อแสดงความชื่นชมเจ้าของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าแก่อายุเกือบ 90 ปีผู้นี้

ล่าสุดชื่อของ “จุน วนวิทย์” กลายเป็นข่าวดังอีกครั้ง ครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เพราะจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีผู้ใจบุญแห่งเอเชีย ประจำปี 2565 (Asia’s 2022 Heroes of Philanthropy) ของนิตยสารฟอร์บส์ ซึ่งหมายถึงบุคคลร่ำรวยที่บริจาคเงินให้การกุศล เช่น ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ปรากฏว่าหนึ่งในนั้นมีชื่อของ “จุน วนวิทย์” ติดอันดับ 1 ใน 15 ด้วย โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าเขาเป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญเพียงคนเดียวจากประเทศไทย

นอกจากจุนแล้ว ยังมีมหาเศรษฐีในเอเชียคนอื่น ๆ รวมด้วย เช่น โกตัม อดานิ มหาเศรษฐีที่รวยสุดในอินเดีย, ฮิโรชิ มิกิทานิ ชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งและซีอีโอราคูเท็น กรุ๊ป และเมลานี เพอร์กินส์ หญิงออสเตรเลียผู้ก่อตั้งแคนวา